วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

น้ำค้างที่นองบนใบหญ้า

น้ำหยดใหญ่ เนืองนอง บนใบหญ้า
จากฝนตก ที่ผ่านมา หลายทีหน
ปริ่มบนใบ แต่ไม่ ร่วงไหลลง
ยังอยู่คง ปริ่มคา ยอดหญ้างาม

เป็นน้ำอุ้ง หนักหญ้า ทำคาโน้ม
หญ้าเริ่มโค้ง รับไม่ไหว ในคืนยาม
หญ้าไหวเอน แต่หยัดทน อยู่ทนทาน
สู้สะท้าน น้ำหนัก ทะลักตัว

น้ำคืนนี้ ก็เพิ่ม ขึ้นมาอีก
เกินกว่าปีก จะรับไหว มืดสลัว
หญ้าโน้มหญ้า ใบล้า ล้มทั้งตัว
น้ำที่นอง อยู่ทั่ว ก็หล่นไป

พอน้ำไหล จากไป จากใบหญ้า
หญ้าก็ชู ชันหน้า กลับมาใหม่
เจริญงาม สูงสง่า กว่ากาลใด
ต้นสูงใหญ่ เขียวขจี ทุกวี่วัน

อนิจจัง เปรียบเหมือน เรื่องปกครอง
ระบอบที่ ยืนจอง ศักดาใหญ่
ไม่รับฟัง ยอมรับ เสียงจากใคร
ยืนเพื่อได้ กอบโกย เข้าส่วนตน

หญ้ายังทน ก็ได้แต่ แค่รอตาย
หากยังหมาย เจริญงาม ในแห่งหน
จงสะบัด จงโค้ม จงโน้มลง
ให้น้ำหล่น จากใบ ให้รากกลืน

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

Barack Obama - 44th President Of The USA. [พิเศษ]

Pedestrian Blog วันนี้นำเสนอเรื่องพิเศษครับ

ไม่ใช่เรื่องสั้น หรือบทกวี

เพราะเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2551 เกิดประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ต่อสหรัฐอเมริกา และโลก

ยิ่งใหญ่จนยากที่จะมองข้ามไป

คือ "คนดำ" ในสหรัฐอเมริกา วันนี้มีโอกาสขึ้นมายืนเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศ

ชื่อของเขาคือ Barack Obama เอาชนะ Sen. John MacCain อย่างถล่มทลาย

อเมริกันแสดงให้เห็นว่าพวกเขาให้เกียรติคนดำ - คนขาว เท่าเทียมกัน ทุกคนมีสิทธิ์เป็นผู้นำ ด้วยความสามารถของพวกเขา

ผมได้แปลคำปราศรัยบางส่วน กอปรกับนำ VDO ของคำปราศรัยที่ชิคาโก้ ในคืนวันที่ 4 พฤศจิกายน มาติดไว้ใน Blog ด้วย

ลองชมดูนะครับ เผื่อจะตื่นเต้นเหมือนผมบ้าง

แปลไม่ตรง แปลผิดอย่างไรต้องขออภัย ณ ที่นี้ด้วยครับ มีเจตนาอยากให้ทุกคนได้ฟัง และอ่านจริงๆ

ขอบพระคุณครับ

The Pedestrian





CHANGE!!
WE NEED


ผมเป็นคนชอบฟังสุนทรพจน์ มาตั้งแต่เด็ก ชอบเวลานักบริหาร หรือนักการเมืองบางคนพูด เพราะรู้สึกได้ถึงพลังที่ซ่อนอยู่ในคำแต่ละคำ ที่เปล่งเสียงออกมา เรียกว่าต่างกันมากกับการอ่านคำปราศรัยในหนังสือพิมพ์

ยิ่งตั้งแต่ที่โลกเรามี “Youtube” ผมก็กลายเป็น “ผู้ใช้” ประจำของมันโดยปริยาย

ผมชอบ Search ฟัง Speech ของ George W. Bush, Bill Clinton, Nicholas Sakosy, Bill Gates, Steve Jobs หรือย้อนยุคไปหน่อยก็เช่น Dr. Martin Luther King Jr. (“I have a dream.”)

แม้ว่าภาษาอังกฤษจะไม่ได้คล่องแคล่วขนาดนั้น ก็ยังพยายามเอา Script หรือแม้กระทั่งคำแปลภาษาไทยมาไว้ข้างๆ หน้าจอของ Youtube เพื่อให้ฟังได้อรรถรสยิ่งขึ้น

เรียกว่าชอบฟังจนเป็นงานอดิเรก

ผมมีความเชื่อว่า คำพูดของคนเราสามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ (ความเชื่อนี้เป็นความเชื่อเดียวกับ Bill Clinton และ Margaret Thatcher – แล้วดูสิว่าทั้งสองคนนี้เปลี่ยนแปลงโลกของเราไปขนาดไหน)

อีกครั้งในวันนี้ ความเชื่อของผมดังกล่าวก็พิสูจน์อีกครั้งหนึ่งครับ

ในการปราศรัยวันที่ 4 พฤศจิกายน 2551

ผู้ที่ขึ้นไปยืนบนเวทีปราศรัย ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2551 นั้นเป็นคนผิวดำ ดูหนุ่มแน่นหนุ่มเหมือนสมัยบาทหลวง Dr. Martin Luther King พูดที่ Washington DC เพียงแต่ Dr. King นั้นรูปร่างท้วมกว่า

เขาคือ “Barack Obama” ว่าที่ประธานาธิบดีคนที่ 44 ของสหรัฐอเมริกา

ประธานาธิบดี “คนดำ” คนแรกของสหรัฐอเมริกา

ผมทราบว่าเขาชนะเป็นประธานาธิบดีตอนเย็นวันที่ 4 พฤศจิกายน 2550 ด้วยเหตุว่าทำงานจนเย็น ไม่ได้รับฟังข่าวสารในวันนั้น

ณ ขณะที่ผมทราบว่า Obama ได้เป็นประธานาธิบดี ผมตื่นเต้นอยู่ในที ยิ่งเมื่อนึกถึงสุนทรพจน์ของ Dr. King แล้ว ยิ่งขนลุก

Dr. King พูดสุนทรพจน์ “I have a dream” อันลือลั่นที่สุดในโลก คนที่ยืนฟังเขานับแสนคน ที่ DC มีทั้งคนดำและคนขาว บนเป กัน

“I have a dream” โดยเนื้อหา คือการบอกเล่าถึงความฝันที่วันหนึ่งคนดำ คนขาว ลูกหลานอดีตทาส และลูกหลานอดีตนายทาส จะได้มีวันที่จะมีสิทธิ์เสรี เท่าเทียมกันอย่างแท้จริง

Abraham Lincoln ก็เคยพยายามอย่างสุดกำลัง ในการเลิกทาส (จนเกิดสงครามกลางเมืองกับ Jefferson Davis – ฝ่ายใต้)

ความฝันอันยิ่งใหญ่ของ Dr. King และ Lincoln ได้ถูกปฏิบัติอย่างยิ่งใหญ่ ผ่านบุรุษที่ชื่อ Barack Obama
สุนทรพจน์มีความสวยงามเหมือนกัน เพียงแต่บ่งบอกคนละนัยยะ

นัยยะแห่งฝันอันยิ่งใหญ่ กับนัยยะแห่งความสำเร็จอันยิ่งยง

มาแกะคำปราศรัยของ Obama ที่ผมคัดมาเป็นบางช่วงบางตอนดูกันดีกว่าครับ เผื่อคุณๆท่านผู้อ่านจะกลายเป็นคนชอบฟังสุนทรพจน์แบบผมกันบ้าง

โอบาม่าเริ่มต้น Speech ของเขาอย่างน่าสนใจมากครับ

“If there is anyone out there who still doubts that America is a place where all things are possible, who still wonders if the dream of our founders is alive in our time, who still questions the power of our democracy, tonight is your answer.”


เริ่มมาแบบนี้ก็ขนลุกแล้วครับ เราต่างรู้ว่าสหรัฐอเมริกา เป็นดินแดนที่สร้างสรรค์หลายสิ่งหลายอย่างให้กับโลก และก็รับรู้ว่าแนวคิดของอเมริกันชน มันก้าวข้ามความเป็นไม่ได้หลายสิ่งหลายอย่าง นั่นทำให้พวกเขามีเทคโนโลยีใหม่ๆ มีแนวคิดทางเศรษฐกิจใหม่ และก้าวนำโลกอย่างสมศักดิ์ศรี

นอกจากนี้เราต่างชื่นชมสหรัฐอเมริกาว่าเป็นประเทศที่สร้างจากแนวคิดเสรีอย่างแท้จริง ทุกคนในแผ่นดินนี้เท่าเทียมกัน Thomas Jefferson, Benjamin Franklin, George Washington, John Adams และอีกหลายๆคน สร้างประเทศนี้ขึ้นมาด้วยแนวคิดนั้น

และประเด็นสุดท้ายคือแผ่นดินอเมริกานั้นได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่า เป็นชาติที่วางรากฐานประชาธิปไตย และเป็นแนวทางให้กับชาติต่างๆหลายชาติในโลก พวกเขามีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษรแห่งแรกในโลก ทั้งๆที่เพิ่งจะก่อตั้งชาติเมื่อเพียงแค่ 200 กว่าปีที่ผ่านมาเท่านั้นเอง

อย่างไรก็ตาม 3 ประเด็นนี้ ถูกบทบังด้วยประเด็นๆหนึ่ง ซึ่งดูจะใหญ่โตเหมือนกัน

คนผิวขาว ผิวดำ คนคาทอลิค โปแตสแตนท์ พุทธ ไม่ว่าจะเป็นใครก็มีสิทธิ์ที่จะใช้ชีวิตอย่างเท่าเทียมในประเทศนี้ แต่ในทางการเมืองแล้ว “คนดำ” และชนกลุ่มน้อยอื่นๆ มีสิทธิ์น้อยมากที่จะขึ้นมาเป็นผู้นำ และได้รับการยอมรับจากสังคม Dr. Martin Luther King เคยขึ้นไปถึงจุดนั้น แล้วก็ถึงแก่อสัญกรรม เพราะถูกปองร้าย ประเด็นๆนี้ ค้างเติ่ง เป็นถ้อยคำถามถึงความเป็นไปได้ อิสรภาพ และความสวยงามของประชาธิปไตย ว่ามีอยู่จริงหรือในสหรัฐอเมริกา

พลัน!! คนผิวดำ ได้ก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดี กำแพงคำถามเหล่านี้พังทลายลง โอบาม่ากำลังจะบอกว่านี่คือประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของแผ่นดินนี้ และนี่คือคำตอบ ของคำถามที่เราได้ตั้งขึ้นในข้างต้น คำตอบซึ่ง

เกิดขึ้นในค่ำคืนวันที่ 4 พฤศจิกายน 2551

“It's the answer told by lines that stretched around schools and churches in numbers this nation has never seen, by people who waited three hours and four hours, many for the first time in their lives, because they believed that this time must be different, that their voices could be that difference.”


ผมไม่ตัดถ้อยคำปราศรัยใดๆออกไปเลยครับ ต่อเนื่องกันไปเลย

โอบาม่ากล่าวถึงคำตอบดังกล่าว ที่ปรากฏขึ้นเด่นชัดจากปรากฏการณ์การใช้สิทธิ์เลือกตั้งของคนจำนวนมากมาย อเมริกันผู้มาใช้สิทธิ์เป็นแถวยืดยาวแผนศูนย์เลือกตั้งที่ตั้งอยู่ตามโรงเรียน และโบสถ์ หลายคนรอคอยที่จะใช้สิทธิ์ของพวกเขาเป็นเวลากว่า 3 – 4 ชั่วโมง บางคนในนั้นเป็นการใช้สิทธิ์ครั้งแรกในชีวิตของเขา ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเนื่องด้วยพวกเขาเชื่อ!! เชื่อว่าการเลือกตั้งครานี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลง และนั่น!! ทำให้การลงคะแนนเสียงของเขาในครั้งนี้ไม่เหมือนก่อน

เหมือน Theme เลือกตั้งของ Obama ครับ “Change, We Need” โอบาม่ากล่าวอย่างยิ่งใหญ่ว่าผู้คนต่างเชื่อว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลง และพวกเขายอดจะต่อคิวกันยาวเหยียด เพื่อเลือกการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
โอบาม่ายังกล่าวต่อชวนให้ขนลุกกันอีกว่า

“It's the answer spoken by young and old, rich and poor, Democrat and Republican, black, white, Hispanic, Asian, Native American, gay, straight, disabled and not disabled. Americans who sent a message to the world that we have never been just a collection of individuals or a collection of red states and blue states.

We are, and always will be, the United States of America.”

ท่อนนี้ไม่ต้องบรรยายครับ ผมให้ 5 ดาวเลยสำหรับสุนทรพจน์ท่อนนี้ของบารัค ไม่ว่าใคร ก็คืออเมริกัน พวกเขาเป็นหนึ่งเดียว และเป็นเช่นนี้ตลอดมา

“We are, and always will be, the United States of America.”


ไม่รู้ว่าใครจะเห็นว่ายังไง แต่ผมบอกได้คำเดียวว่ามันจะก้องในหูผมตลอดไปเลย
ถ้อยแถลงช่วงตอนกลางๆนั้น เต็มไปด้วยการขอบคุณต่อพลพรรคเดโมแครต คนในครอบครัว รวมถึงการชื่นชม Sen. John McCain และ Sarah Palin คู่แข่งของ บารัคในการเลือกตั้งที่ผ่าน ซึ่งเป็นประเพณีแห่งความสวยงามของประชาธิปไตยอเมริกัน ที่รู้แพ้ รู้ชนะ

มีการพูดถึงเรื่องราวการหาเสียงเลือกตั้ง และขอบคุณผู้สนับสนุนของเขาอย่างที่สุด
ส่วนตัวผมชอบ แต่ไม่ได้เอามาสาธยายให้ฟัง เพราะผมว่าเป็นถ้อยคำพูดโดยปกติ แล้วดูจะเป็นเรื่องปกติหลายคนก็คงได้ยินได้ฟังแล้วจากหลายสื่อ

ฟังไปเรื่อยๆ ก็ไปอึ้งกับคำพูดคำนึงของ Obama ที่กล่าวถึงคนที่ไม่ได้เลือกเขาเป็นประธานาธิบดี(เอามาให้อ่าน เพราะผมว่าเป็นถ้อยคำที่สวยเหมือนกัน แต่หากฟังจะพบว่าโอบาม่าแข็งไปหน่อยในท่อนนี้ แต่ความหมายมันก็สวยงาม)

“As Lincoln said to a nation far more divided than ours, we are not enemies but friends. Though passion may have strained, it must not break our bonds of affection.

And to those Americans whose support I have yet to earn, I may not have won your vote tonight, but I hear your voices. I need your help. And I will be your president, too.”

โอบาม่ากล่าวว่าทุกคนที่เป็นมิตร มิใช่ศัตรู บางครั้งกิเลสตัณหา ความโกรธเกลียด อาจทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกันได้ แต่มันจะไม่ทำให้พันธะแห่งความรักของเราต้องขาดจากกัน

โอ้โห คำพูดนี้เห็นภาพเลย ยิ่งเป็นคนไทย อยู่ในเมืองไทย ยิ่งเข้าใจสภาพได้ดี เราเข่นฆ่าเอาเลือดเอาเนื้อกัน เรา...กำลังทำลายพันธะแห่งความรักที่โอบาม่าพูดหรือไม่ อันนี้น่าสนใจ

ผมว่าโอบาม่าพรรณนาเปรียบเทียบได้สวยมากครับ เหมือนกับคำว่า แตกต่างแต่ไม่แตกแยก ของบ้านเราเหมือนกัน

ท่อนที่สวยมากๆ คือบรรทัดที่สาม ของถ้อยแถลงอันนี้ คือการที่โอบาม่ากล่าวถึงคนที่ไม่ได้โหวตให้กับเขา ว่าถึงแม้นเขาจะไม่ได้รับการลงคะแนนจากคนเหล่านั้น แต่เขายังคงได้ยินเสียงของทุกๆคน เขาต้องการความช่วยเหลือของทุกๆคน เพื่อจะสร้างประเทศนี้ให้สวยงาม (นัยยะ) และเขา ก็จะเป็นประธานาธิบดี ของคนทุกๆคน

ตรงนี้สวย และบ่งบอกถึงสัญญาประชาคมในการทำงานของ Obama ว่าเขาคือคนของทุกๆคนอย่างแท้จริง (ไม่เหมือนนักการเมืองบ้านเราบางคน ที่เวลาจังหวัดไหนไม่เลือกเขา กลับมาบอกว่าหากได้เป็นรัฐบาลจะตัดงบประมาณจังหวัดนั้นๆ)

โอบาม่ายังให้ถ้อยแถลงต่อมหามิตร กับมหาศัตรู ของสหรัฐอเมริกาไว้อย่างน่าสนใจ ว่าใครที่ทำให้โลกดีขึ้นเขาจะสนับสนุน หากใครที่ทำไม่ดี อเมริกาจะจัดการกับเขา ตอนพูดท่อนนี้ดูหนักแน่นครับ แล้วก็ดูเป็นการแสดงตนเป็นเจ้าโลกนี้ไปซะหน่อยเหมือนกัน

มาถึงท่อนสุดท้ายของสุนทรพจน์ที่ผมบอกเลยครับว่าค่อนข้างดี กินเวลาหลายนาทีเหมือนกันของการปราศรัย ลองอ่านดูครับ

“This election had many firsts and many stories that will be told for generations. But one that's on my mind tonight's about a woman who cast her ballot in Atlanta. She's a lot like the millions of others who stood in line to make their voice heard in this election except for one thing: Ann Nixon Cooper is 106 years old.

She was born just a generation past slavery; a time when there were no cars on the road or planes in the sky; when someone like her couldn't vote for two reasons - because she was a woman and because of the color of her skin.

And tonight, I think about all that she's seen throughout her century in America - the heartache and the hope; the struggle and the progress; the times we were told that we can't, and the people who pressed on with that American creed: Yes we can.

At a time when women's voices were silenced and their hopes dismissed, she lived to see them stand up and speak out and reach for the ballot. Yes we can.

When there was despair in the dust bowl and depression across the land, she saw a nation conquer fear itself with a New Deal, new jobs, a new sense of common purpose. Yes we can.

When the bombs fell on our harbor and tyranny threatened the world, she was there to witness a generation rise to greatness and a democracy was saved. Yes we can.

She was there for the buses in Montgomery, the hoses in Birmingham, a bridge in Selma, and a preacher from Atlanta who told a people that We Shall Overcome. Yes we can.

A man touched down on the moon, a wall came down in Berlin, a world was connected by our own science and imagination.

And this year, in this election, she touched her finger to a screen, and cast her vote, because after 106 years in America, through the best of times and the darkest of hours, she knows how America can change.

Yes we can.

America, we have come so far. We have seen so much. But there is so much more to do. So tonight, let us ask ourselves - if our children should live to see the next century; if my daughters should be so lucky to live as long as Ann Nixon Cooper, what change will they see? What progress will we have made?

This is our chance to answer that call. This is our moment.

This is our time, to put our people back to work and open doors of opportunity for our kids; to restore prosperity and promote the cause of peace; to reclaim the American dream and reaffirm that fundamental truth, that, out of many, we are one; that while we breathe, we hope.

And where we are met with cynicism and doubts and those who tell us that we can't, we will respond with that timeless creed that sums up the spirit of a people: Yes, we can.

Thank you. God bless you. And may God bless the United States of America.”

โอบาม่ากล่าวถึงหญิงคนหนึ่งชื่อว่า Ann Nixon Cooper ผู้ซึ่งใช้สิทธิ์ลงคะแนนที่ Atlanta (มลรัฐจอร์เจีย) หนึ่งในคนที่ต้องการให้เสียงของเธอสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ โอบาม่ากล่าวถึงความแตกต่างของ Ann Nixon Cooper กับคนอเมริกันคนอื่นๆทั่วๆไป นั่นคือเธอนั้นอายุถึง 106 ปีแล้ว

โอบาม่าเริ่มมาแบบนี้ สร้างความตื่นเต้นได้มาก เอ..เขากำลังจะพูดอะไร และได้มีการอ้างชื่อของหญิงชรา (ชรามากซะด้วย) ซึ่งเป็นโนเนมในสังคมขึ้นมา โอบาม่าต้องการจะกล่าวอะไร
โอบาม่าเฉลยคำสงสัยในใจของทุกคนให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

เขากล่าวว่า Ann Nixon Cooper กำเนิดในช่วงหลังยุคของการเลิกทาส ช่วงเวลาที่ไม่มีรถบนถนน และเครื่องบินบนท้องฟ้า ช่วงเวลาที่เธอไม่ได้รับสิทธิ์ในการลงคะแนนเลือกตั้ง เพราะสาเหตุ 2 ประการ คือเธอเป็นหญิง และความเป็นคนผิวสีของเธอ

โอ้โห บริบทท่อนนี้ฟังแล้วก็เริ่มเข้าใจ Ann Nixon Cooper คือสัญลักษณ์ครับ สัญลักษณ์ของกำแพงทางประชาธิปไตยในสหรัฐอเมริกา แต่ดั้งเดิม คือหญิง และคนผิวสีไม่มีสิทธิ์ได้เลือกตั้ง ผมฟังถึงตรงนี้ก็รู้สึกได้ถึงความฉลาดในการคัดสรรเรื่องมาพูดของเขา (ไม่รู้ว่าทีมหาเสียงเตรียมให้ หรือเขาเตรียมเองนะครับ J)
ว่าที่ประธานาธิบดีคนที่ 44 ของ United States of America กล่าวต่อไปอีกว่า

ในค่ำคืนนี้ เขาคิดว่าเธอจะได้มองผ่านศตวรรษของเธอ (ตลอดอายุของเธอ) ช่วงเวลาที่ผ่านความปวดร้าว ความหวัง การดิ้นรน และเดินไปข้างหน้าของสหรัฐอเมริกา ช่วงเวลาที่คนอเมริกันเราต่างถูกบอกว่าเราไม่สามารถทำได้ ท่ามกลางผู้คนที่ถูกบีบให้เชื่อหลักเกณฑ์เก่า โอบาม่ากล่าวว่า ณ วันนี้ เราทำได้แล้ว

บางทีผมอาจจะแปลไม่เนียนเท่าไหร่ แต่ “นัยยะ” ของถ้อยแถลงการณ์บทนี้ แสดงให้เห็นว่า โอบาม่าต้องการจะบอกคนทุกๆคนในแผ่นดินของเขาว่า ในระยะเวลาต่อมาคนอเมริกันสร้างประวัติการณ์ในการก้าวข้ามกำแพงดังกล่าวที่ขวางกั้น Ann Nixon Cooper ได้ โดยการที่สหรัฐอเมริกา เปิดโอกาสให้เธอ คนผิวสี และผู้หญิงทุกๆคนสามารถใช้สิทธิ์เลือกตั้งได้ เฉกเช่นเจ้าของประเทศคนอื่นๆ (ไม่ใช่แค่ชายผิวขาว)

เรียกว่ากล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงทางประชาธิปไตย โดยไม่ลืมที่จะพ่วงเรื่องราวต่างๆ กับช่วงชีวิต และสัญลักษณ์ ของ Ann Nixon Cooper

ใบหน้าที่ดูเคร่งขรึม สะกดผู้ชมจนอยู่หมัด

เหมือนที่ ท่าน ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นักวิชาการ นักคิดของสังคม เคยกล่าวไว้ครับ ว่าสื่อที่ร้อน เช่น “โทรทัศน์” กับคนที่ร้อน (Obama) นั้น หากอยู่ร่วมกัน จะสะกดให้คนอื่นๆหยุดนิ่ง และฟังโดยไม่ทำอะไรเลย

โอบาม่ากล่าวต่อ ท่ามกลางผู้ชมที่อ้าปากค้าง และหูผึ่ง พวกเขารอคอยคำพูดของโอบาม่า
เขากล่าวว่า ในช่วงเวลาที่เสียงของผู้หญิงนั้นเงียบกริบ และความหวังของพวกเธอถูกลืม Ann Nixon Cooper ยังคงอยู่จนกระทั่งได้เห็น วันที่ผู้หญิงได้ลุกขึ้น พูด และใช้สิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง โอบาม่า กล่าวย้ำต่อมวลชนเกือบแสนคนของเขาว่า “เราทำได้”

และกล่าวต่อไปอีกว่า

ช่วงเวลาแห่งความสิ้นหวัง ท้อแท้ และสะเทือนใจทั่วทั้งแผ่นดิน Ann Nixon Cooper ได้เห็น อเมริกาเอาชนะความกลัวของตัวมันเอง โดยได้สร้างหน้าที่ใหม่ และสามัญสำนึกใหม่
กล่าวย้ำอีกครั้งว่า “เราทำได้”

ชัดเจนครับ

บารัคต้องการ “เล่าเรื่อง”

เล่าเรื่องเพื่อให้ลากยาวถึงประวัติศาสตร์หน้าใหม่ในค่ำคืนวันที่ 4 November 2008 นั่นเอง

เขากล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงในการที่หญิงได้รับสิทธิ์เสรีภาพในการใช้สิทธิ์ และการสร้างจิตสำนึกใหม่ในประเทศ เป็นการกล่าวเน้นย้ำ และขยายความสิ่งที่เขากล่าวไปก่อนหน้าที่แล้ว

ปากนั่นยังคงพร่ำพูด สายตาที่เคร่งขรึมสะกดผู้คำ แสดงภาวะผู้นำของตัวของเขาได้อย่างวิเศษ

โอบาม่า กล่าวต่อว่า

ในช่วงเวลาที่ระเบิดจำนวนมากถล่มท่าเรือของเรา และผู้ปกครองผู้กดขี่ครอบงำโลก Ann Nixon Cooper ยังคงอยู่ที่นั่น และเป็นสักขีพยาน แห่งการเติบโตอย่างยิ่งใหญ่ และได้เห็นความอยู่รอดแห่งประชาธิปไตย
กล่าวอีกครั้งว่า “เราทำได้”

ท่อนนี้ก็เป็น “นัยยะ” เดิม โอบาม่า ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ในช่วงเวลาต่อมา ที่ประชาธิปไตยในสหรัฐอเมริกาที่ขณะนั้นกำลังเริ่มจะเติบโต และดีขึ้น กำลังถูกความ “ท้าทาย” ในยุคที่แสนยากลำบากในสงครามโลกครั้งที่สอง ยุคที่ประเทศถูกท้าทายโดย “ผู้ทรงอำนาจ” ในโลก เขากล่าวถึงเหตุการณ์ที่ญี่ปุ่นบุกถล่ม Pearl Habour ใน Hawai และเหตุการณ์ของเผด็จการนาซี อย่างอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เขากล่าวต่อไปอีกว่า ประชาธิปไตยในประเทศนี้ก็ยังคงอยู่รอด และเติบโต เขาเล่าเหตุการณ์ที่อย่างได้ผ่านสายตาของ Ann Nixon Cooper ได้อย่าง “แนบเนียน” มาก

โอบาม่ายังคงพูดต่อไป ท่ามกลางผู้คนที่อดใจรอฟังไม่ไหว

เขากล่าวว่า Ann Nixon Cooper ยังคงอยู่ที่นั่น และได้พบเห็นกรณีของรถโดยสารใน Montgomery, ท่อน้ำใน Birmingham และ เรื่องสะพานใน Selma และท่ามกลางความคิดแต่ดั้งแต่เดิมว่าไม่มีทางที่พวกเราจะทำได้

โอบาม่ากล่าวอีกแล้วครับ “เราทำได้”


ท่อนนี้โอบาม่ากล่าวถึงเหตุการณ์ 3 เหตุการณ์ที่ขวางกั้นการลุกขึ้นยืนสู่เสรีภาพของชาวอเมริกันผิวสี อันได้แก่

1. เหตุการณ์ประท้วงรถเมล์ให้บริการเฉพาะคนผิวขาว เมืองมอนต์โกเมอรี รัฐอลาบามา ในปี 1955 ส่งผลให้เกิดการต่อต้านรถเมล์ดังกล่าวด้วยการเลิกขึ้นรถเมล์ยาวนานถึงหนึ่งปี

2. การต่อต้านนโยบายเหยียดสีผิวที่เมืองเบอร์มิงแฮม รัฐอลาบามา ซึ่งตำรวจได้สลายม๊อบ โดยการใช้น้ำฉีดใส่ผู้ชุมนุม ในช่วงปี 1963.

3. ในปี 1965 มีผู้คนหลายร้อยคนประท้วงการเหยียดสีผิว โดยการเดินข้ามสะพานที่เมืองเซลมา รัฐอลาบามา และถูกตำรวจทำร้าย

โอบาม่ากล่าวว่า นับตั้งแต่ตอนนั้น ไม่มีใครคิดว่าจะมีวันนี้ แต่ “เราทำได้”

โอบาม่า กล่าวว่า ชายที่ได้สัมผัสพื้นผิวแห่งดวงจันทร์ กำแพงที่พังทลายลงในเบอร์ลิน และเธอ...ก็ได้ใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ด้วยชีวิตที่ผ่านประสบการณ์มานานถึง 106ปีในสหรัฐอเมริกา ผ่านช่วงเวลาที่หมองหม่นที่สุด และสวยงามที่สุด Ann Nixon Cooper รู้ว่าประเทศนี้จะเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร

ท่อนนี้กล่าวถึง การเหยียบดวงจันทร์ของ นีลส์ อาร์มสตรอง ในปี 1969 ต่อเนื่องมาถึงปี 1989 กำแพงเบอร์ลินพังทลายลง อันเป็นสัญลักษณ์แห่งการล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ โอบาม่ากล่าวว่า Ann Nixon Cooper นั้นผ่านเรื่องราวต่างๆมามากมาย เขากล่าวอีกว่า Ann Nixon Cooper นั้นรู้...รู้จากประสบการณ์ของเธอว่าประเทศนี้จะเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร

เขากล่าวอีกครับ ท่อนนี้ผมชอบที่สุด!! (การลากเรื่องของ โอบาม่า มาถึงจุดที่สวยงามที่สุด)

เขากล่าวด้วยวาจาที่ก้องทั่วแผ่นดินว่า อเมริกา, เราได้เดินทางมาไกลนักแล้ว เราเห็นอะไรมามากมาย และมันก็ยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่จะต้องกระทำ ในค่ำคืนนี้!! ข้าพเจ้าขอให้ชนชาวอเมริกันย้อนถามตัวของตัวเอง ว่าถ้าหากลูกของพวกเราสามารถมีอายุยืนยาว เหมือนกับที่ Ann Nixon Cooper เป็น ความเปลี่ยนแปลงอะไรที่พวกเขาจะได้เห็น ความก้าวหน้าอะไรที่คนอเมริกันในยุคสมัยนี้จะได้สร้างเอาไว้

เขากล่าวสรุปบทนี้ว่า นี่คือโอกาสที่เราจะตอบคำถามดังกล่าว ที่คือช่วงเวลาของเรา!!

ผมชอบมากๆ ผมว่าเขาเล่าเรื่องที่กินระยะเวลาซักหน่อย แต่สวย คือให้ Ann Nixon Cooper เป็นสัญลักษณ์แห่ง 100 ปี ตั้งแต่ยุคหลังเลิกทาส แล้วตั้งคำถามอันยิ่งใหญ่ของผองชนอเมริกันว่า เราจะเปลี่ยนแปลงอะไรให้กับประเทศของเราได้บ้างในศตวรรษนี้ของพวกเรา

ผมว่าเขาแสดงบทบาทความเป็นผู้นำทางความคิดของสหรัฐเรียบร้อยแล้ว

โอบาม่า กล่าวเสริมต่อครับว่า นี่คือช่วงเวลาของคนอเมริกัน ช่วงเวลาที่จะส่งคนอเมริกันกลับไปทำงาน ที่จะเปิดประตูแห่งโอกาสให้กับเด็กๆอเมริกัน; ที่จะฟื้นฟูความสำเร็จ และสนับสนุนให้เกิดสันติสุข; ที่จะเรียก “ความฝันแห่งอเมริกัน” กลับคืนมา และ เพื่อที่จะยืนยันว่าความเชื่อพื้นฐานแห่งสหรัฐอเมริกา ว่า เรา!! คือหนึ่งเดียว

กล่าวปลุกใจไปแล้ว โอบาม่าก็กล่าวถึงผลที่เขาอยากให้ชาติของเขาได้ประสบ คือการที่คนสหรัฐอเมริกาจะได้มีงานทำ เด็กอเมริกันจะมีโอกาส และความฝัน “American Dream” จะเปล่งประกายอีกครับ
โอบาม่าต้องการจะให้ยุคสมัยของเขาเป็นยุคแห่งการฟื้นฟู ของทั้งเศรษฐกิจ และสังคม

ผมว่าเขาคิดถึงขั้นนั้นจริงๆ คนๆนี้ผมว่าน่าสนใจ การเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ อย่าง “กลาฟนอฟ ปาเรสตรอยก้า” ของมิคคาอิล กอบาชอฟ หรือการพลิกประเทศอย่างเจฟเฟอร์สัน เลนนิน เหมาเซตุง ลินคอล์น หรือผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่เราเคยเห็นในอดีต อาจจะเกิดอีกครั้งในสหรัฐอเมริกา
และแล้วก็กล่าวบริบทสุดท้ายของสุนทรพจน์ว่า

ทุกช่วงเวลาที่เราหายใจ เรามีความหวัง และหากเราจะได้พบกับกลุ่มคนที่เคยเยาะเย้ยเรา ที่เคยสงสัยในตัวเรา ผู้ที่เคยกล่าวว่าเราไม่สามารถทำได้ เราจะตอบสนองความคิดเหล่านั้น เราจะสร้าง และรวบรวมพลังแห่งจิตวิญญาณ ของเราทุกคน
และ เรา ทำ ได้!!!

โอบาม่าจบถ้อยแถลงอย่างยิ่งใหญ่ เขาย้ำว่านี่คือช่วงเวลาที่อเมริกาจะทำได้ ความเชื่อมั่นของอเมริกันจะทำให้อเมริกาก้าวผ่านทุกสิ่งทุกอย่าง ก้าวผ่านความเป็นไปไม่ได้ (คนที่เยาะเย้ย และสงสัย ผมว่าโอบาม่าต้องการให้เป็นสัญลักษณ์ของ “Impossible”)

ก่อนจะกล่าวจบอย่างเป็นทางการ เหมือนประธานาธิบดีทุกๆคนในอเมริกา

“ขอบคุณทุกท่าน ขอพระเจ้าคุ้มครองทุกท่าน และขอให้พระองค์ทรงพิทักษ์รักษาแผ่นดินอเมริกา”

ถ้าเป็น George W.Bush เราฟังแล้วคงเลี่ยนครับ แต่ ณ วันนี้ คำพูดของโอบาม่านั้นทรงพลัง
เขาเป็นประธานาธิบดีแห่งประวัติศาสตร์ของสหรัฐ เนื่องจากเขาก้าวผ่านความเป็นไปไม่ได้เรื่องผิวสี

ส่วนการทำงานในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และสังคมของเขาจะทำได้หรือไม่ นั่นเป็นสิ่งที่เราต้องติดตามดูครับ สำหรับผู้นำผิวดำ ร่างผอม หัวทุย ดูภูมิฐาน และชาญฉลาด นาม “บารัค โอบาม่า” คนนี้

The Pedestrian
Walk Along & Watch Around
9 November 2008

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

คงคู่กาล ให้ลูกหลาน ได้บูชา

อาลัยแด่การจากไปของคุณตา - เชวง สมสาร (พระมหาบุญมี อเวรี (สมสาร) เมื่อครั้งยังอุปสมบทที่วัดบรมนิวาส )






ตะวันลอย คล้อยขึ้น จากขอบฟ้า
ส่องภาคพื้น พสุธา รับวันใหม่
ชีวิตเกิด เป็นตาย นานาไป
ล้วนภายใต้ เกณฑ์ใน วัฏฏะกรรม


เมื่อเกิดก็ มีแก่เจ็บ และดับสูญ
จะจำรูญ เท่าใด ก็เท่านั้น
มังสาน้อย แนบเนื้อ ขาวเจือคล้ำ
ที่สุดกรรม พาให้เป็น เช่นเถ้าถ่าน


ทิ้งชื่อเสียง เพียงกรรมดี ที่ปรากฏ
ที่จะยก เป็นเรื่องราว ให้เล่าขาน
กรรมเคยก่อ กรรมใด เป็นตำนาน
คงคู่กาล ให้ลูกหลาน ได้บูชา


เมื่อพุธ วันพระที่ ยี่สิบสอง
“คุณตา”ต้อง สิ้นใจ จากภพหล้า
ฝนฟ้าเกรี้ยว สาดเท ทั่วทั้งฟ้า
เหมือนจะพร่ำ พรรณนา ในคราไป


เป็นองก์ปิด เก้าสิบสอง ครองชีวิต
ที่ควรหวน มาคิด มากราบไหว้
ว่าตอนอยู่ โลกนี้ ที่ทำไป
ท่านได้สร้าง กรรมดีไว้ นานาการณ์


จากท้องนา ท้องดิน ถิ่นร้อยเอ็ด
“เชวง” เด็ก ตัวน้อย ใจกล้าหาญ
เดินเท้าเปล่าจาก ที่นา มาเนิ่นนาน
เพื่อจะเรียน เพิ่มพาน หาวิชา


อุปสมบท เป็นพระ อยู่จำวัด
จบเปรียญ ถึงเก้าหลัก เป็นมหา
แล้วสึกออก เรียนกฏหมาย ในต่อมา
จึงอาสา รับราชการ เป็นงานทำ


กระทรวงวัฒนธรรม และกรมศุล
คือที่“คุณ ตา”อยู่ เวลานั้น
ย้ายถิ่นฐาน เหนือใต้ พัลวัน
ก่อเสริมคุณ เป็นอนันต์ ให้ธานี


ได้ชื่อเป็น ข้าราชการ ผู้ซื่อสัตย์
มีพออยู่ อย่างประหยัด ตามวิถี
เป็นนิสัย การเลี้ยงตน ตามพอดี
เป็นเรื่องที่ น่าชื่นชม เมื่อยลยิน


มีนิสัย อดออม มัธยัสถ์
สมถะ ครองธรรม นำชีวิน
รักษา สุขภาพกาย สมบูรณ์สิ้น
จึงอยู่กิน ครองวัย เกือบร้อยปี


ด้วยภาวะ แห่งกรรม นำพาโศก
ถึงวันโลก ต้องจากท่าน ในนาที
สื่อสัญญาณ สิ้นบุญ ของคนดี
สื่อว่าเป็น วันที่ ต้องเสียดาย


นาม “เชวง” แปลว่า ความรุ่งเรือง
จะเป็นเรื่อง เล่าขาน กันเอาไว้
“คุณตา”ห่าง “เด็กท้องนา” มาแสนไกล
เป็นถึงข้า -ราชการใหญ่ ใช้แผ่นดิน


พลันแล้วลับ ตะวันลา ตามกำหนด
แสงจึงหมด จากฟากฟ้า ที่ผกผิน
จึงลับดวง หลังหลืบเขา เข้าแผ่นดิน
สื่อการสิ้น วันดี ที่สมบูรณ์

Winn On Youtube

Pedestrain On TV (บังเอิญมาก)